สะพานทางช้างเผือก

          ที่เห็นอยู่นี้ คือ ภาพทางช้างเผือกทอดยาวพาดผ่านขอบฟ้าทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ไปจนถึงขอบฟ้าทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ในช่วงค่ำของเดือนตุลาคม ราวกับเป็นสะพานเชื่อมต่อทั้งสองขอบฟ้าที่เต็มไปด้วยแสงดาวจุดเล็กๆ นับร้อยนับพันที่เก็บเรื่องราวของเอกภพในอดีตเอาไว้

          ภาพนี้ใช้เทคนิคการถ่ายแบบ Panorama เริ่มถ่ายจากใจกลางทางช้างเผือก (ด้านซ้ายของภาพ) เป็นภาพแรก เนื่องจากจะเป็นบริเวณที่ตกลับขอบฟ้าก่อน จากนั้น ค่อยๆ  ขยับกล้องไปทางขวาและจัดมุมให้ภาพคร่อมกันกับมุมเดิมอย่างน้อยครึ่งภาพ เพื่อให้สามารถนำภาพมาต่อกันได้อย่างสมบูรณ์ที่สุด  ถ่ายไปเรื่อยๆจนสุดที่ปลายทางช้างเผือกอีกด้าน และนำภาพไปต่อกันด้วยโปรแกรม Photoshop 

          อีกสิ่งหนึ่งที่ต้องคำนึงถึงในการถ่ายภาพทางช้างเผือกให้ครบตลอดแนว คือ ต้องเลือกสถานที่เปิดโล่ง รอบทิศทางและและไม่มีแสงไฟรบกวน ดังเช่นภาพนี้ถ่าย ณ ยอดดอยอินทนนท์ จ.เชียงใหม่ หนึ่งในพื้นที่ที่มีทัศนวิสัยท้องฟ้าดีที่สุดในประเทศไทย ค่อนข้างมืดสนิทและไม่มีแสงไฟรบกวน

          หากใครที่กำลังตามหาสถานที่สำหรับถ่ายภาพทางช้างเผือกหรือทางดาราศาสตร์ใกล้บ้าน สามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์เขตอนุรักษ์ท้องฟ้ามืดในประเทศไทย https://darksky.narit.or.th และสำหรับใครที่มีภาพถ่ายดาราศาสตร์สวย ๆ โค้งสุดท้ายแล้วสำหรับการประกวดภาพถ่ายในหัวข้อ “มหัศจรรย์ภาพถ่ายดาราศาสตร์” ประจำปี 2565 ชิงเงินรางวัลเงินสดรวมมูลค่ากว่า 160,000 บาท สมัครและส่งผลงานได้ทาง https://apps.narit.or.th/ ถึงวันที่ 22 กรกฎาคม 2565 เท่านั้นครับ

 

เรื่อง/ภาพ : ศิวรุต พลอยแดง – เจ้าหน้าที่สารสนเทศดาราศาสตร์ สดร.

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า