DARK SKY

อย่างไรถึงเรียกว่าฟ้ามืด?

โครงการ IDA ได้จัดตั้งแคมเปญ DARK SKY PARK (อุทยานฟ้ามืด) ขึ้น โดยมีเงื่อนไขว่าสถานที่นั้นต้องสามารถแยกแยะดวงดาวในตอนกลางคืนได้ และไม่ส่งผลกระทบต่อธรรมชาติ การศึกษา วัฒนธรรม ซึ่งสถานที่นั้นอาจจะเป็นสถานที่ส่วนรวมหรือส่วนตัวก็ได้ ขึ้นอยู่กับข้อกำหนดของ IDA

เป้าหมายของโครงการ

  • ฟื้นฟู ปกป้องพื้นที่สาธารณะ เช่น ประเทศ รัฐ จังหวัด สวนสาธารณะ รวมไปถึงพื้นที่ส่วนตัว ด้วยข้อตกลงร่วมกัน เพื่อให้ท้องฟ้าตอนกลางคืนมีคุณภาพที่ดีเยี่ยม
  • ประชาสัมพันธ์ให้แก่นักสิ่งแวดล้อมและนักดาราศาสตร์
  • ประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับความปลอดภัยและสุขภาพของมนุษย์ในเวลากลางคืน เพลิดเพลินไปกับท้องฟ้ายามค่ำคืน พื้นที่ในอุดมคติที่นักดาราศาสตร์สมัครเล่นต้องการ
  • ส่งเสริมให้บันทึกข้อมูลท้องฟ้าแต่ละสถานที่เพื่อเป็นฐานข้อมูลว่าสถานที่ไหนควรได้รับการช่วยเหลือ
  • ให้มีการรับรองระหว่างประเทศของแต่ละสถานที่
  • ส่งเสริมให้แต่ละสถานที่เข้าร่วมเพื่อพัฒนาคุณภาพท้องฟ้า โดยการให้ความรู้เกี่ยวกับความสำคัญเมื่อฟ้ามืด รวมไปถึงยกตัวอย่างสาเหตุของปัญหา

ประโยชน์

การออกแบบเพื่อจะทำให้โครงการ DSPs ประสบความสำเร็จ จะต้องสร้างความตระหนักแก่ สต๊าฟ ผู้มาเยื่อนและชุมชน โดยสถานที่ที่เข้าร่วมจะต้องมีป้ายสัญลักษณ์ของโครงการเพื่อประชาสัมพันธ์ ทาง IDA จะระบุและอธิบายเกี่ยวกับ DSP ที่เข้าร่วมไว้ในเว็บไซด์ ซึ่งแต่ละสถานที่สามารถเลือกคู่หูและจะต้องขึ้นสถานะว่า DARK SKY PARK

คุณสมบัติ

คุณสมบัติสำหรับพิจารณาเข้าร่วมโครงการ DSPs ผู้สมัครเข้าร่วมโครงการจะต้องปฏิบัติตามที่ IDA เสนอทุกข้อ ดังนี้

1) สถานที่ที่มีสิทธิเข้าร่วมโครงการจะต้องเป็นที่สาธารณะ ไม่ว่าจะดูแลผ่านทางภาครัฐ เอกชน จังหวัด เขต หรืออาจจะรวมไปถึงสวนสาธารณะ ป่า พื้นที่รกร้าง แหล่งน้ำ หรือพื้นที่ประเภทอื่นที่ต้องได้รับการปกป้อง

2) สำหรับพื้นที่ส่วนตัว เจ้าของพื้นที่จะต้องอนุญาตให้ใช้พื้นที่ของตนในเวลากลางคืนเพื่อเข้าร่วมการออกแบบให้ตรงคุณสมบัติที่ IDA ต้องการ เพื่อให้เป็นการยืนยันว่าเจ้าของพื้นที่จะเข้าร่วมโครงการ เจ้าของพื้นที่ต้องอนุญาตให้ IDA เข้าออกได้อย่างสะดวก นอกเหนือจากนั้นอาจมีค่าธรรมเนียม แต่รายได้ที่เกิดขึ้นจะไม่ขึ้นกับขอเรียกร้องกับผลผลิต การบริการ คุณประโยชน์โปรแกรมหรือโรงงานที่จัดตั้งขึ้น สำหรับสถานที่ใดที่ผ่านข้อ 1) และ 2) แล้ว จะมีคำยืนยัน PARK

3) การตรวจสอบจะใช้โปรแกรมของ IDSP ซึ่งแต่ละพื้นที่จะได้รับข้อแนะนำจากผู้ที่มีความรู้เกี่ยวกับข้อปฏิบัตืในเวลากลางคืน เพื่อออกแบบสถานที่หรือใช้เวลาเท่าไรถึงเหมาะสม เช่น เป็นพื้นที่ที่ต้องการปกป้องระบบนิเวศ อาจจะบอกมาด้วย

4) สถานที่ที่มีคุณภาพท้องฟ้าที่ดีเยี่ยมนั้นขึ้นกับชุมชนและเมืองที่อยู่รอบๆสถานที่นั้น ซึ่งจะแบ่งคุณภาพท้องฟ้าตามลำดับเหรียญทอง เงิน และทองแดง ตามลำดับ การจัดลำดับเหรียญนั้นดูได้ในส่วนต่อไป

ข้อเรียกร้องเกี่ยวกับสถานที่จะเข้าร่วมโครงการ DSPs

1) แผนการจัดการขอบเขตของแสง (LMP) ต้องมีมาตราฐานอย่างน้อย ดังนี้

  • แนวทางสำหรับแสงที่เกิดบริเวณด้านนอกอาจดูได้ตามเว็บไซด์
  • กำหนดนโยบายขึ้นว่าพื้นที่ไหนควรหรือไม่ควรมีแสง รวมไปถึงว่าแสงนั้นควรจะสว่างมากน้อยแค่ไหน
  • ใส่ที่ครอบเพื่อมาตรฐานที่ตรงกันทุกสถานที่ แหล่งกำเนิดแสงไม่ควรเกิน 500 ลูเมน และเมื่อใส่ที่ครอบแล้วแสงจะต้องไม่กระเจิงขึ้นฟ้า ถ้าไม่ใส่ที่ครอบแสงทางของเส้นจะต้อวถูกควบคุมด้วยตัวจับเวลา
  • กำหนดชนิดของหลอดไฟที่ใช้ เช่น สี ประสิทธิภาพ เทคโนโลยี เป็นต้น และควบคุมประสิทธิภาพที่มนุษย์สามารถมองเห็นในที่มืดว่ามากและน้อยที่สุดควรอยู่ที่ระดับใด ความสัมพันธ์ของสีและอุณหภูมิของหลอดที่ติดตั้งที่แหล่งกำเนิดต้องไม่เกิน 3000 เคลวิน และน้อยที่สุด 2000 เคลวิน ที่จะมีผลกระทบต่อระบบนิเวศน้อยสุด
  • ควรจะยืนยัน LMP นโยบายให้ปรากฏในชุมชนเพื่อให้ตระหนักความสัมพันธ์ของความสว่างและฟ้ามืดเพื่อเป็นแนวทางป้องกันที่ดีต่อไป

2) พันธะสัญญาเพื่อให้ฟ้ามืดและกำหนดพื้นที่ที่ใช้แสง มีดังนี้

  • พื้นที่ที่ได้รับการยอมรับว่ามีคุณภาพท้องฟ้าที่ดีนั้นสำคัญกับ ธรรมชาติ ประเพณี รวมถึงแหล่งข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ที่จะสาธิตโดยข้อมูลที่รวบรวมได้
  • 2/3 ของแสงภายนอกต้องสอดคล้องกับแอพพลิเคชั่นของ IDA
  • โปรแกรมการคำนวณต้องรักษาทั้งสถานที่และพื้นที่ส่วนตัวหรือองค์การหรือองค์กร มหาชน (มหาลัย ศูนย์วิจัย กลุ่มนักดาราศาสตร์) เพื่อติดตามพัฒนาการของมลภาวะทางแสงในพื้นที่นั้นและคุณภาพท้องฟ้าไม่ได้ลดลง
  • สถานที่เข้าร่วมโครงการจะต้องเตรียมตัวอย่างทดลองในการฟื้นฟูสภาพท้องฟ้าอย่างน้อยหนึ่งข้อ ดังนี้

3) เผยแผ่ความรู็ให้แก่ชุมชน

  • ควมสำคัญของคุณภาพท้องฟ้าและแสงที่เหมาะสมควรได้รับความร่วมมือระหว่างผู้เสนอและนักวิจัย (ไม่จำเป็นต้องเฉพาะนักดาราศาสตร์แต่รวมไปถึงการศึกษาเกี่ยวกับระบบนิเวศ พลังงาน ความปลอดภัย และสุขภาพ) ถ้าพื้นที่นี้เป็นแบบอย่างให้แก่ชุมชน ก็จะกลายเป็นศูนย์กลางในการประชาสัมพันธ์โครงการ
  • โครงการนี้จะต้องเกิดขึ้นอย่างน้อย 4 ครั้งต่อปี ถ้าต้องการมากกว่านี้ก็สามารถเสนอได้

4) ในกรณีที่ที่เรียกร้องหรือเลือกมากเกินไป ทาง IDA จะระงับสถานะ DSP โดยข้อเรียกร้องจะส่งตรงถึงสถานที่ของคุณ

5) สถานที่นั้นต้องมีสัญลักษณ์ว่ากำลังสร้างและดำเนินการในนามของ IDA ตามถนน ฟุตบาท ซึ่งสัญลักษณ์รวม DSP และข้อความเข้าไปด้วย สำหรับสถานที่ในชุมชนอาจจะใช้คำที่บ่งบอก เช่น ระบบนิเวศฟ้ามืด หรืออะไรที่คล้ายๆกัน บางที่อาจมีรางวัลเล็กน้อยถ้าต้องการ เมื่อได้สร้างเป็นสัญลักษณ์แล้วต้องส่งให้ IDA เพื่อบันทึกว่าได้บรรยายถึงสถานที่นั้นว่าอย่างไร

6) DSP เป็นแค่ตัวบ่งบอกเบื้องต้นของ IDA และการถูกถอนออกจากโรงการถ้าดำเนินการตามข้อเรียกร้องไม่ได้ สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ในส่วน “reassessment of ida dsp designation”

7) ผู้เข้าร่วมโครงการจะต้องส่งรายงานประจำปีให้แก่ IDA ทุกวันที่ 1 ตุลาคม ซึ่งรายละเอียดในงานจะต้องบอกถึงกิจกรรมและความก้าวหน้าทั้งหมดที่เกิดขึ้น การรายงานอย่างน้อยที่สุดต้องบอกข้อมูลความต่อเนื่องที่เรียกร้อง ผู้สนับสนุน วิชาการ ผลกระทบ และการดำเนินการที่เหมาะสมลดแสงอย่างน้อย 90% ตาม LMPs ในรายงานควรมีวันที่และอธิบายเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เปลี่ยนหลอดไฟ การเผยแพร่สู่ชุมชน

8) ระดับคุณภาพท้องฟ้า

  • การวัดระดับคุณภาพท้องฟ้าจะถูกแบ่งเป็น 3 ระดับ ได้แก่ เหรียญทอง เหรียญเงิน และเหรียญทองแดง
  • เหรียญทองคุณภาพท้องฟ้าจะต้องไม่มีมลภาวะและมีสภาพใกล้เคียงกับท้องฟ้าจริงมากที่สุด
  • เหรียญเงิน มีมลภาวะทางแสงและแสงที่กระเจิงจากแสงประดิษฐ์ แต่คุณภาพท้องฟ้ายังดีและใช้เป็นตัวอย่างท้องฟ้ายามค่ำคืนได้
  • เหรียญทองแดง เหมือนกับเหรียญเงิน แต่ยังส่งผลต่อมนุษย์ พืช และสัตว์จากการลดคุณภาพของท้องฟ้า
  • การกำหนดคุณภาพท้องฟ้าที่แย่ที่สุดจะขึ้นกับว่าได้รับเหรียญรึเปล่า ซึ่งทาง IDA จะเป็นผู้ตัดสินใจ
  • เพื่อเป็นการละลายข้อสงสัยเกี่ยวกับระดับคุณภาพท้องฟ้าที่กำหนดด้วยเรียญ พิจารณาที่ตารางด้านล่าง
ตัวชี้วัดเหรียญทองเหรียญเงินเหรียญทองแดง
ปรัญชาระบบนิเวศตอนกลางคืนจะมีมลภาวะทางแสงและแสงเรืองจากแสงประดิษฐ์ แต่คุณภาพท้องฟ้ายังดีเยี่ยมและพื้นที่ใช้แสงยังเหนือกว่าที่อื่นระบบนิเวศตอนกลางคืนจะมีมลภาวะทางแสงและแสงเรืองจากแสงประดิษฐ์ แต่คุณภาพท้องฟ้าและพื้นที่ใช้แสงยังสามารถนำมาเป็นแบบอย่างให้แก่ที่อื่นได้พื้นที่ที่นอกเหนือเหรียญเงิน แต่ยังส่งผลต่อมนุษย์ พืช และสัตว์จากการลดคุณภาพของท้องฟ้า
แสงประดิษฐ์และแสงกระเรืองบนท้องฟ้าผู้สังเกตจะไม่เจอแสงบาดตาเลย แสงจะอ่อนมากและถูกยับยั้งขอบเขตแสงไม่ให้เกินขอบฟ้าแหล่งกำเนิดแสงทำให้เกิดแสงเรืองบนท้องฟ้า ขอบเขตแสงนั้นสูงกว่าเส้นขอบฟ้าแต่ไม่ถึงจุดเหนือศีรษะเป็นพื้นที่ที่มีแสงประดิษฐ์และแสงเรืองมากกว่าเหรียญเงิน แต่ท้องฟ้ายังสังเกตได้อยู่
ปรากฏการณ์บนท้องฟ้าที่สามารถสังเกตได้ปรากฏการณืที่สามารถสังเกตได้ตามลำดับ ดังนี้ ออโรรา มวลอากาศ ทางช้างเผือก แสงจักรราศี และฝนดาวตกจางๆต้องเป็นปรากฏการณ์ที่สว่างระดับหนึ่ง และเห็นได้บางครั้ง ได้แก่ ทางช้างเผือกจะเห็นในช่วงฤดูร้อนและฤดูหนาวส่วนมากจะไม่เห็นปรากฏการณ์บนท้องฟ้า ทางช้างเผือกอาจเห็นได้บางที่เท่านั้น จางเหมือนกับดูกาแล็คซี่แอนโดรเมดา
สิ่งแวดล้อมยามค่ำคืนแสงในบริเวณนั้นน้อยจนไม่มีผลกระทบต่อพืชและสัตว์ ปราศจากแสงไฟจากบนตึกสูง นอกจากสวนสาธารณะมีแสงเรืองเล็กน้อย ทำให้สิ่งมีชีวิตไม่อาจปรับตัวได้ถ้าอยู่ในระยะที่ห่างไกล ขัดขวางกระบวนการทางระบบนิเวศทำให้พืชและสัตว์เสื่อมโทรมเล็กน้อยมีผลกระทบมากกว่าเหรียญเงิน แต่ระบบนิเวศยังสเถียรอยู่
ขีดจำกัดความสว่างที่สามารถมองเห็นเห็นดาวที่แม็กนิจูดมากกว่า 6.8 และสภาพท้องฟ้าดีมากเห็นดาวที่แม็กนิจูดระหว่าง 6.0 ถึง 6.7  หรือต่ำกว่าสภาพท้องฟ้าดีเห็นดาวที่แม็กนิจูดระหว่าง 5.0 ถึง 5.9 หรือต่ำกว่าสภาพท้องฟ้าดี
&n1-33-55-6
คุณภาพท้องฟ้า>21.7521.74-21.0020.99-20.00

รายการหลอดไฟ

1) เมื่อนอกอาคารมีแสงไฟมากมาย โดยเฉพาะแสงจากโรงงาน จำเป็นต้องใส่ที่ครอบหรือให้แหล่งกำเนิดแสงไม่เกิน 500 ลูเมน และทำการบันทึกข้อมูลการใช้หลอดไฟแต่ละหลอด

2) ชนิดของหลอดไฟจะต้องสอดคล้องกับที่ได้วางแผนหรือลงมติเพื่อปฏิบัติตามในพื้นที่ที่จำกัดแสง

3) ถ่ายภาพหรือเขียนแผนภาพของหลอดไฟแต่ละหลอดทุกวัน

ตารางตัวอย่างรายการหลอดไฟบางส่วน :

สถานที่การติดตั้งที่ครอบแสงน้อยกว่า 500 ลูเมนการใช้งานความสอดคล้องกับพื้นที่จำกัดแสง
ศูนย์บริการนักท่องเที่ยวเสา 14 ฟุต จำนวน 12 ตัว ตัวละ 70 วัตต์ (HPS)ใส่ไม่สวนสาธารณะ ปิดเวลา 22.00 น.สอดคล้อง
ประตู 2 หลอด หลอดละ 100 วัตต์ (MH)ใส่ไม่ทางออกของตึกสอดคล้อง
ไฟตามทางเดิน 6 หลอด หลอดละ 32 วัตต์ (CFL)ไม่ใส่ไม่ทางเดินไม่สอดคล้อง
?ทางออกขนส่ง 2 หลอด หลอดละ 40 วัตต์ (นีออน)ไม่ใส่ใช่สถานที่อนุรักษ์ประวัติศาสตร์สอดคล้อง
การบำรุงรักษาสถานที่ติดกับผนัง 6 หลอด หลอดละ 250 วัตต์ (MH)ไม่ใส่ไม่ใช้บางครั้งไม่สอดคล้อง
แสงเรือง 8 หลอด หลอดละ 11 วัตต์ (CFL)ใส่ไม่ทางออก,เพื่อความปลอดภัยสอดคล้อง

***แหล่งกำเนิดแสง 500 ลูเมน หรือน้อยกว่า ในกรณีที่ใช้หลอดต่างๆ ; หลอดนีออนต้องน้อยกว่า 33 วัตต์, หลอดทังสแตนต้อง25 วัตต์ , หลอดฟลูออเรนเซนต์แบบแท่งต้องน้อยกว่า 8 วัตต์, หลอดฟลูออเรนเซนต์ต้องน้อยกว่า 10 วัตต์

แนวทางการจัดการขอบเขตของแสง
การจำกัดขอบเขตของแสงจะต้องปลูกฝังการใช้หลอดไฟที่ดีเข้ากับหลักจริยธรรม เช่น

1) แสงนอกสถานที่จะต้องผูกเข้ากับอำนวจกฎหมาย
2) ใช้แสงเท่าที่จำเป็น เช่น เมื่อไหร่ ที่ไหน สถานที่ที่ใช้งานหนักเป็นพิเศษ
3) หลอดไฟภายนอกอาคารควรจะใส่ที่ครอบและควรติดตั้งเครื่องจำเวลาหรือเซ็นเซอร์ไว้กับหลอดไฟ

  • สำหรับแหล่งกำเนิดแสงที่มีค่าน้อยกว่า 500 ลูเมน ไม่จำต้องใส่ที่ครอบก็ได้ แต่ต้องได้รับการรับรองจาก LMP ซึ่งทาง IDA จะเป็นคนพิจารณาว่าสถานที่นี้มีแสงที่เหมาะสมสำหรับเผยแพร่หรือปกป้องสภาพท้องฟ้าตอนกลางคืนได้มากที่สุด ทาง IDA อาจจะขอให้อธิบาย ถ่ายรูป หรือวาดลักษณะของแสงเพิ่มเติม หลอดไฟที่ไม่ได้รับการยกเว้นจากแนวทางนี้ยังคงต้องออกแบบให้มีผลกระทบต่อขอบเขตแสงมากที่สุด

สถานะชั่วคราว
1) ในบางกรณี พื้นที่ที่สนใจอาจขาดแคลนทรัพยากรที่จะทำให้ประสบความสำเร็จ ถ้าคุณภาพท้องฟ้าต่ำ พื้นที่นั้นอาจจะขึ้นสถานะชั่วคราว สถานะชั่วคราว คือ พื้นที่นั้นอยู่ในช่วงกำลังพัฒนาหรือปรังปรุงและเปลี่ยนแปลงนโยบายของหลอดไฟ
2) เพื่อยื่นพิจารณาสถานะชั่วคราว ต้องส่งข้อมูลตามด้านล่างนี้

  • คุณภาพท้องฟ้าตอนแรก
  • คุณภาพท้องฟ้าต้องอยู่ภายใต้คุณสมบัติของเหรียญเงินของ DSP เป็นอย่างต่ำ
  • ข้อมูลที่ตั้งใจจะช่วยรองรับ DSP
  • อธิบายแผนว่าต้องการพื้นที่นั้นเป็นอย่างไร

3) สถานะชั่วคราวจะหมดอายุหลัง 3 ปี ก่อนที่สถานะชั่วคราวจะหมดอายุ สถานที่นั้นต้องกลับมาใช้สถานะเต็ม จะต้องส่งวัสดุรวมไปถึงรายงานคุณภาพท้องฟ้า เป้าหมาย การเผยแพร่ และรายการที่เคยใช้

แนวทางต่อกระบวนการอุทยานฟ้ามืด

อิทธพล
อิทธิพลที่มีผลต่อคุณภาพจะถูกกำหนดโดยผู้มีอิทธิพลของ IDA หรือเจ้าหน้าที่ในพื้นที่นั้นซึ่งเป็นสมาชิกของ IDA โดยจะตรวจสอบหลอดไฟภายนอกอาคารและขอบเขตของแสงในชุมชน