เขตอนุรักษ์ท้องฟ้ามืด

 “ร่วมรณรงค์ให้สังคมตระหนักถึงผลกระทบจากมลภาวะทางแสง และอนุรักษ์ความมืดของท้องฟ้ายามค่ำคืน  ผ่านการจัดตั้งเขตอนุรักษ์ท้องฟ้ามืดและการท่องเที่ยวเชิงดาราศาสตร์”

  • ประโยชน์ของการเข้าร่วมเป็นเขตอนุรักษ์ท้องฟ้ามืด

          สถานที่ที่ขึ้นทะเบียนเป็นเขตอนุรักษ์ท้องฟ้ามืดในแต่ละรูปแบบ จะได้รับการรับรองจากสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) ว่าเป็น “แหล่งท่องเที่ยวเชิงดาราศาสตร์ในประเทศไทย” ที่มีความพร้อมตามหลักเกณฑ์กำหนด  เช่น คุณภาพท้องฟ้า การบริหารจัดการแสงสว่าง และความเหมาะสมของพื้นที่สังเกตการณ์ทางดาราศาสตร์ 

          อีกทั้งสถานที่ที่ขึ้นทะเบียนฯ จะได้รับการสนับสนุนข้อมูล สื่อดาราศาสตร์ และการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ในช่องทางต่างๆ ของสถาบันฯ ให้ประชาชนและผู้สนใจรับทราบอย่างทั่วถึง

  

  • หลักเกณฑ์การขึ้นทะเบียนเป็นเขตอนุรักษ์ท้องฟ้ามืด

          การขึ้นทะเบียนเขตอนุรักษ์ท้องฟ้ามืดในแต่ละรูปแบบ ถูกพิจารณาโดยคณะกรรมการของสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) จากข้อมูลการสมัครและการสำรวจพื้นที่ ที่สอดคล้องกับหลักเกณฑ์กำหนดไว้ เช่น คุณภาพท้องฟ้า แสงสว่างภาพนอกอาคาร การจัดกิจกรรมสร้างความตระหนักอย่างต่อเนื่อง และการสนับสนุกจากหน่วยงาน/ผู้บริหารต้นสังกัด ทั้งนี้ เพื่อยืนยันว่าพื้นที่ดังกล่าวมีความเหมาะสมและเกิดการอนุรักษ์ความมืดของท้องฟ้าอย่างยั่งยืน

          พื้นที่ที่ได้รับจัดตั้งเป็นเขตอนุรักษ์ท้องฟ้ามืด จะได้รับป้ายรับรองว่าพื้นที่ดังกล่าวมีคุณภาพท้องฟ้าได้มาตรฐาน มีการจัดการแสงสว่างในพื้นที่ตามที่กำหนด และได้รับอนุญาตให้นำเครื่องหมายเขตอนุรักษ์ท้องฟ้ามืดใช้ในการประชาสัมพันธ์พื้นที่อุทยานแก่นักท่องเที่ยวและประชาชน นอกจากนี้จะดำเนินการประชาสัมพันธ์ผ่านเว็บไซต์อุทยานท้องฟ้ามืด และช่องทางออนไลน์อื่นๆ เพื่อให้ผู้สนใจรับทราบข้อมูลอย่างกว้างขวาง

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า