หากความมืดยังไม่มาเยือน
ดวงดาวก็มิอาจส่องแสง
- D.H. Sidebottom -
จงเงยหน้าขึ้นมองดวงดาว
มิใช่ก้มมองเท้าตัวเอง
- Stephen Hawking -
จักรวาลนั้นไม่ยากเกินจะทำความเข้าใจ
- Neil deGrasse Tyson -
เมื่อเราเข้าใจมันมากขึ้น
ความกลัวก็จะน้อยลง
- Marie Curie -
เราทุกคนล้วนเกิดจากธุลีดาว
- Jocelyn Bell Burnell -

ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ประเทศไทยมีการใช้แสงสว่างเพิ่มขึ้นทุกปีและมีแนวโน้มจะเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ แม้จะเป็นแสงสว่างที่จำเป็นหรือไม่จำเป็นก็ตาม แต่สิ่งที่เกิดขึ้นจากการใช้แสงสว่างอย่างสิ้นเปลืองและไม่ระมัดระวังส่งผลกระทบต่อคนและสัตว์ ทั้งด้านระบบนิเวศ พลังงาน ดาราศาสตร์ รวมถึงสุขภาพร่างกายโดยไม่รู้ตัว วีดีโอข้างต้นนี้เป็นความร่วมมือระหว่าง The International Dark-Sky Association (IDA) และ Loch Ness Productions เพื่อให้ตระหนักถึงผลกระทบของมลภาวะทางแสง พร้อมวิธีการอย่างง่ายสามวิธีในการช่วยลดมลภาวะทางแสง   

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็นหน่วยงานภาครัฐที่รณรงค์ให้ประชาชนใช้แสงสว่างให้เกิดประโยชน์สูงสุดและส่งผลเสียน้อยที่สุด เพื่ออนุรักษ์ท้องฟ้ายามค่ำคืนภายใต้ชื่อแคมเปญ “Dark Sky in Thailand” หรือใช้ชื่อภาษาไทยว่า “เขตอนุรักษ์ท้องฟ้ามืดในประเทศไทย” โดยมีเงื่อนไขว่าสถานที่นั้นต้องสามารถสังเกตเห็นดวงดาวในเวลากลางคืนได้อย่างชัดเจน อาจเป็นอุทยานแห่งชาติ พื้นที่ชุมชนหรือพื้นที่ส่วนตัว ตัวอย่างเช่น “เขตสงวนท้องฟ้ามืดอาโอรากิ แมคเคนซี” ประเทศนิวซีแลนด์ เขตสงวนท้องฟ้ามืดที่ประสบความสำเร็จ สามารถจัดบริการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ กิจกรรมดูดาว/ถ่ายภาพในเวลากลางคืน ห้องพัก โรงแรม ร้านอาหาร ร้านขายของที่ระลึก เทศกาลชมดาว และการบรรยายพิเศษ ทำให้เกิดการจ้างงานและเพิ่มรายได้ให้กับคนในชุมชนได้เป็นอย่างมาก

2560
– ดำเนินโครงการวิจัย การลดผลกระทบจากมลภาวะทางแสงที่อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ (ปี พ.ศ. 2560-2562)

– เสวนา “เมืองฟ้ามืดเห็นดาว…กำลังจะเป็นเทรนด์ใหม่ : Dark Sky Campaign” ปลุกกระแสรณรงค์ลดมลภาวะทางแสงเพื่อโลกและดวงดาว
2560
2561
– ติดตั้งอุปกรณ์ตรวจวัดคุณภาพท้องฟ้า ณ อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ จ.นครราชสีมา
2561
2562
– การติดตั้งอุปกรณ์ตรวจวัดคุณภาพท้องฟ้า ณ อุทยานแห่งชาติแหลมสน จ.ระนอง

– งานประชุม Light Pollution Research Workshop
2562
2563
– อบรมถ่ายภาพดาราศาสตร์ในเขตพื้นที่ท้องฟ้ามืด (Dark Sky Astrophotography Workshop)

– อบรมดาราศาสตร์เพื่อการนันทนาการในอุทยานแห่งชาติ
2563

แผนที่มลภาวะทางแสง

     โลกมีการพัฒนาอยู่เสมอ ทั้งด้านเศรษฐกิจ การคมนาคม วิศวกรรม ทำให้เทคโนโลยีต่าง ๆ เข้าถึงผู้คนได้ง่ายกว่าอดีตที่ผ่านมา จนทำให้ผู้คนพึ่งพาเทคโนโลยีและละเลยการใช้สิ่งเหล่านั้นให้เกิดประโยชน์สูงสุด แสงสว่างจากหลอดไฟก็เช่นเดียวกัน การติดตั้งหลอดไฟอย่างไม่ระมัดระวังและไม่ควบคุมทิศทางตามบ้านเรือน ท้องถนน ส่งผลให้เกิดมลภาวะทางแสงที่เรืองสู่ท้องฟ้า  ข้อมูลคุณภาพท้องฟ้าจากดาวเทียม Suomi National Polar-orbiting ของกรมอุตุนิยมวิทยาและองค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติสหรัฐอเมริกา (NASA) พบว่า ประชากรโลกติดตั้งหลอดไฟนอกอาคารบ้านเรือนเพิ่มขึ้นถึง 2 เปอร์เซ็นต์ทุกปี ส่งผลให้หนึ่งในสามของประชาชนบนโลกไม่สามารถมองเห็นทางช้างเผือกบริเวณที่ตนอยู่อาศัยได้ อย่างไรก็ตามมลภาวะทางแสงนั้นก็ยังสามารถควบคุมได้ หากควบคุมทิศทางแสงและ เปิดใช้งานเฉพาะบริเวณที่จำเป็น 

     รูปแผนที่มลภาวะทางแสงด้านข้างนี้ บ่งบอกถึงมลภาวะทางแสงที่เกิดขึ้นอีกนัยหนึ่งคือบ่งบอกขีดจำกัดในการสังเกตการณ์ท้องฟ้าตอนกลางคืนในแต่ละพื้นที่ บริเวณที่ถูกย้อมไปด้วยสีขาวแสดงถึงมลภาวะทางแสงมากที่สุด หรือมีคุณภาพท้องฟ้าที่เลวร้ายที่สุด ถัดลงมาคือ สีแดง สีเหลือง สีเขียว สีน้ำเงิน และสีดำตามลำดับ จากรูปจะพบว่าในประเทศไทย บริเวณที่มีมลภาวะทางแสงมากที่สุด คือ กรุงเทพฯ และจังหวัดข้างเคียง ซึ่งส่วนมากจะเป็นจังหวัดใหญ่ ๆ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า