การเรืองแสงของบรรยากาศโลก

เครดิต : สถานีอวกาศนานาชาติ ISS

อีกมุมมองของ #โลก สวยอย่าบอกใคร

นักบินอวกาศบนสถานีอวกาศนานาชาติ ถ่ายภาพนี้ขณะโคจรรอบโลกที่ระดับความสูงกว่า 400 กิโลเมตรเหนือประเทศออสเตรเลีย เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2561 ที่ผ่านมา

แสงสีส้มที่ปกคลุมโลก รู้จักกันในชื่อ “การเรืองแสงของบรรยากาศ (Airglow)” เป็นแสงกระจายขึ้นไปบนชั้นบรรยากาศ ระยะทางประมาณ 80 ถึง 640 กิโลเมตร

ปรากฏการณ์นี้มักเกิดขึ้นเมื่อรังสีอัลตราไวโอเลตจากแสงอาทิตย์ไปกระตุ้นโมเลกุล ซึ่งส่วนใหญ่เป็นไนโตรเจนและออกซิเจน เพิ่มพลังงานให้อะตอมในชั้นบรรยากาศชั้นล่างเคลื่อนที่ชนกัน การสูญเสียพลังงานจากการชนกันนี้เอง ส่งผลให้เกิดการเรืองแสงสีสันสดใส

การเรืองแสงของบรรยากาศ ทำให้เห็นบางกระบวนการที่เกิดขึ้นบริเวณบรรยากาศชั้นบนของโลก ช่วยให้นักวิทยาศาสตร์เรียนรู้เรื่องการเคลื่อนที่ของอนุภาคที่อยู่ใกล้กับชั้นบรรยากาศที่เชื่อมระหว่างโลกกับอวกาศ รวมทั้งความเชื่อมโยงระหว่างสภาวะอวกาศและสภาพอากาศโลก

อีกหนึ่งตัวช่วยสำคัญของนักวิทยาศาสตร์คือIonospheric Connection Explorer (ICON) ของนาซา ก็เป็นอีกหนึ่งตัวช่วยให้นักวิทยาศาสตร์ได้ศึกษาบริเวณที่แปรปรวนนี้ ช่วยให้กระบวนการทางกายภาพเกี่ยวกับปฏิสัมพันธ์ของบรรยากาศของโลกกับบริเวณใกล้อวกาศต่อไป

เรียบเรียง : วทัญญู แพทย์วงษ์ -เจ้าหน้าที่สารสนเทศดาราศาสตร์ สดร.

อ้างอิง
https://www.nasa.gov/image-feature/earth-enveloped-in-airglow

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า