การศึกษาดาราศาสตร์

มลภาวะทางแสงกับดาราศาสตร์

     มลภาวะทางแสง ส่งผลกระทบโดยตรงต่อการศึกษาทางดาราศาสตร์อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ การดูดาวและการสังเกตการณ์ทางดาราศาสตร์เป็นไปด้วยความยากลำบาก พื้นที่สังเกตการณ์ท้องฟ้าหลายแห่งจึงถูกสร้างขึ้นในพื้นที่ห่างไกลแหล่งชุมชน เพื่อหลีกเลี่ยงจากมลภาวะทางแสง ตัวอย่างเช่น หอดูดาว Mauna Kea ในรัฐฮาวาย ประเทศสหรัฐอเมริกา สถานที่ที่มีท้องฟ้ามืดสนิทแห่งหนึ่งของโลก แต่ถึงกระนั้นแล้วก็ยังเกิดมลภาวะทางแสงที่เรืองขึ้นบริเวณใกล้เส้นขอบฟ้าเนื่องจากชุมชนเมืองมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง

หอดูดาว Mauna Kea รัฐฮาวาย ประเทศสหัสรัฐอเมริกา

     ปัจจุบันมีการพัฒนากล้องโทรทรรศน์ให้มีขนาดใหญ่และมีประสิทธิภาพมากขึ้น สำหรับเก็บข้อมูลวัตถุท้องฟ้าที่มีความสว่างน้อย ๆ แต่มลภาวะทางแสงก่อให้เกิดผลกระทบโดยตรงต่อการศึกษาวิจัยทางดาราศาสตร์ ทำให้ท้องฟ้าเวลากลางคืนมีแสงเรือง รบกวนแสงดาวบนท้องฟ้า แม้ว่าในปัจจุบันจะมีอุปกรณ์หรือโปรแกรมที่ช่วยลดปัจจัยของมลภาวะทางแสงแต่ก็ทำให้ข้อมูลที่ได้มีคุณภาพต่ำไม่เพียงพอที่จะนำไปวิเคราะห์ในระดับเชิงลึก

     มลภาวะทางแสงยังกลบความสวยงามของดวงดาวเวลากลางคืนให้เลือนหายไป ปัจจุบันมีหน่วยงานการศึกษา ทั้งภาครัฐและเอกชน จัดกิจกรรมทางดาราศาสตร์หลายรูปแบบเพื่อให้บริการแก่ประชาชนที่สนใจ เช่น การถ่ายภาพทางดาราศาสตร์ หรือจัดกิจกรรมดูดาวแก่นักเรียนเพื่อกระตุ้นให้เกิดความสนใจในการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ แต่มลภาวะทางแสงที่เพิ่มขึ้นทำให้ท้องฟ้าสว่างและไม่สวยงามเหมือนที่เคยเป็น จึงทำให้การจัดกิจกรรมทุกครั้งต้องเดินทางออกจากพื้นที่ชุมชนหลายกิโลเมตร

     ดังนั้น มลภาวะทางแสงจึงเป็นปัญหาที่ทุกฝ่ายควรให้ความสนใจเพื่อให้เกิดการใช้แสงสว่างอย่างมีประสิทธิภาพและลดผลกระทบที่เกิดขึ้นในทุกมิติ

ภาพเปรียบเทียบกลุ่มดาวนายพรานเมื่อปราศจากมลภาวะทางแสง
 และเมื่อมีมลภาวะทางแสงรบกวน

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า