วัตถุท้องฟ้าในห้วงอวกาศลึกที่น่าถ่าย ในช่วงฤดูหนาว (ตอนที่ 2)

คอลัมน์นี้ต่อตอนที่ 1 ที่ทำความรู้จักกับประเภทของวัตถุท้องฟ้าแต่ละประเภทกันแล้ว สิ่งที่เราควรทราบสำหรับการถ่ายภาพ Deep Sky Objects ต่อไปก็คือ การเตรียมการถ่ายภาพวัตถุ ซึ่งประกอบด้วยการเลือกวัตถุที่ต้องการถ่ายภาพ การหามุมรับภาพที่เหมาะสม การตรวจสอบปฏิทินดวงจันทร์ การหาข้อมูลสภาพอากาศบริเวณที่เราจะใช้เป็นจุดถ่ายภาพ และการเรียนรู้กระบวนการประมวลผลภาพถ่าย ทั้งหมดนี้ล้วนแล้วแต่เป็นสิ่งที่นักถ่ายภาพ Deep Sky Objects ควรทราบก่อนออกไปถ่ายภาพกันครับ โดยมีรายละเอียดดังนี้

 
    1. การเลือกวัตถุท้องฟ้าที่สามารถถ่ายภาพได้

      ภาพที่ 1
       

      ภาพที่ 1 คือตัวอย่างวัตถุท้องฟ้าทางทิศเหนือ ในช่วงเดือนธันวาคมที่สามารถใช้เป็นเป็นวัตถุเริ่มต้นในการถ่ายภาพ Deep Sky Objects ได้แก่ กาแล็กซีแอนโดรเมดา (M31) กาแล็กซีรูปกังหัน (M33) เนบิวลาสะท้อนแสงในกระจุกดาวลูกไก่ (M45) กระจุกดาวคู่ และเนบิวลาเปล่งแสง Heart and Sole เป็นต้น

       
      ภาพที่ 2
       

      ภาพที่ 2 คือตัวอย่างภาพวัตถุท้องฟ้าในช่วงเดือนธันวาคม ซึ่งจะโผล่ขึ้นจากขอบฟ้าทางทิศตะวันออกในช่วงกลางดึก ประกอบด้วยวัตถุท้องฟ้าหลากหลายประเภท เช่น เนบิวลาสว่างใหญ่ในกลุ่มดาวนายพราน (M42) เนบิวลาหัวม้า (Horse Head Nebula) ซึ่งเป็นเนบิวลามืด เนบิวลาหัวแม่มด (Witch Head Nebula) เป็นเนบิวลาสะท้อนแสง เนบิวลาดอกกุหลาบ (Rosette Nebula) เป็นเนบิวลาแบบเปล่งแสง กระจุกดาวเปิด (M41) และเนบิวลาบริเวณกลุ่มดาวนายพราน Barnard’s Loop ก็เป็นอีกหลายวัตถุที่สามารถเลือกถ่ายภาพได้ด้วยอุปกรณ์กล้องถ่ายภาพที่มีความยาวโฟกัสที่หลากหลาย

       
    2. การหามุมรับภาพ

      หลังจากที่เราเลือกวัตถุท้องฟ้าที่ต้องการและสามารถถ่ายภาพได้แล้ว ควรตรวจเช็คมุมรับภาพก่อนเสมอ เพื่อความแน่นอนในการเลือกอุปกรณ์ (เลนส์ หรือ กล้องโทรทรรศน์) ที่เหมาะสมในการถ่ายภาพให้สามารถเก็บรายละเอียดของวัตถุได้ครบทั้งหมด (อ่านเพิ่มเติม  
    3. ตรวจสอบปฏิทินดวงจันทร์

      นอกจากการเลือกวัตถุและการเช็คมุมรับภาพของวัตถุท้องฟ้าที่ต้องการถ่ายภาพแล้ว อย่าลืมตรวจสอบปฏิทินดวงจันทร์ คือ การขึ้น-ตก ของดวงจันทร์ในแต่ละวันด้วย เนื่องจากแสงสว่างจากดวงจันทร์ทำให้เราไม่สามารถถ่ายภาพวัตถุท้องฟ้าซึ่งมีความสว่างน้อยๆได้เลย ดังนั้น ก่อนออกไปถ่ายภาพต้องตรวจสอบปฏิทินดวงจันทร์ก่อนเสมอ

       
    4. การหาข้อมูลสภาพอากาศบริเวณที่เราเลือกเป็นจุดถ่ายภาพ

      เมื่อได้สถานที่ถ่ายภาพ Deep Sky Objects แล้ว ควรตรวจสอบว่าบริเวณดังกล่าวมีสภาพอากาศอย่างไร มีความชื้นสูงหรือไม่ ซึ่งกรณีที่จุดถ่ายภาพอยู่ใกล้กับแหล่งน้ำก็อาจมีความชื้นในอากาศสูงในช่วงที่เราถ่ายภาพ ซึ่งต้องใช้เวลาในการถ่ายภาพหลายชั่วโมง ดังนั้นเราอาจติดตั้งอุปกรณ์แถบความร้อนกันความชื้นกับกล้องถ่ายภาพไว้ก่อนก็ถือเป็นอีกสิ่งที่จำเป็นสำหรับการถ่ายภาพ Deep Sky Objects (อ่านเพิ่มเติม: เกี่ยวกับแถบกันความร้อน)

       
    5. การเรียนรู้กระบวนการโปรเซสภาพถ่าย (Image Processing)

      อีกสิ่งสุดท้ายสำหรับพื้นฐานก่อนออกไปถ่ายภาพ Deep Sky Objects ก็คือการทำความเข้าใจกับกระบวนการโปรเซสภาพถ่าย โดยภาพที่จำเป็นสำหรับการโปรเซสภาพ เบื้องต้นจะต้องประกอบด้วยภาพ 1. Light Frame (ภาพถ่ายวัตถุท้องฟ้า) 2. Dark Frame 3. Flat Frame 4. Bias Frame  (อ่านเพิ่มเติม: รายละเอียดการถ่ายภาพ Deep Sky Objects )

      ซึ่งโปรแกรมที่นักดาราศาสตร์สมัครเล่นนิยมใช้ เช่น โปรแกรม DeepSkyStacker ซึ่งเป็นฟรีแวร์ที่สามารถทดลองดาวน์โหลดมาใช้งานได้ที่นี่ คลิ๊ก

       

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า